ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าในแวดวงตลาดรถจักรยานยนต์เมืองไทย นอกจากภาพของการแข่งขันในเชิงยอดขาย อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ความมุ่งมั่นและพยายามขับเคลื่อน "แบรนด์" ของตัวเอง ให้เข้าไปอยู่ในใจของลูกค้า
"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสร่วมพูดคุยกับนายใหญ่แห่งค่ายรถจักรยานยนต์ เบอร์ 2 "ฟูมิอากิ นางาชิมา" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด แม้จะเข้ามานั่งแท่นบอสใหญ่ได้เพียงขวบปีกว่า แต่ด้วยความมั่นใจบวกกับทิศทาง การบริหาร และทีมงานคุณภาพ ทำให้เขามั่นใจในความเป็นผู้นำ "เทรนด์" แล้วยืนยันว่า ยามาฮ่าถือเป็นเบอร์หนึ่งไม่เป็นรองใคร
- ความพอใจตลาดเมืองไทย ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง
ก่อนที่ผมจะเข้ามารับหน้าที่ดูแลตลาดเมืองไทยนั้น ผมเคยดูแลตลาดทั้งใน อเมริกา, ยุโรป, อินโดนีเซีย หรือแม้แต่ในจีนมาแล้ว แต่ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ผมคิดว่า "ยามาฮ่า" เมืองไทยน่าจะเป็นบริษัทมีระบบการจัดการภายในองค์กรที่ดีที่สุด ทั้งด้านการผลิต การตลาด การเงิน การวางแผนธุรกิจ เรียกได้ว่า ระบบควบคุมภายในทุกอย่างน่าจะดีที่สุดเท่าที่เคยมีประสบการณ์มาจากประเทศอื่น ๆ
- นโยบายหลักที่จะใช้กับเมืองไทย
ในช่วงระยะนับตั้งแต่ปี 2552 ที่เข้ามารับตำแหน่ง ไปจนถึงปี 2554 หรือภายใน 3 ปีนี้ ยามาฮ่าจะต้องมี 1.ยอดขายภายในประเทศที่มากกว่า 500,000 คัน 2.จะต้องมีส่วนแบ่งตลาดเกินกว่า 28% และ 3.คือ ภายในปีที่ 3 หรือปี 2554 นั้น ยามาฮ่าจะต้องมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 30% ให้ได้
อย่างในปีนี้ เราเชื่อว่าจะมียอดขายมากกว่า 500,000 คันอย่างแน่นอนแล้ว ส่วนมาร์เก็ตแชร์ การผลิต ทุกอย่างก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในแผนงานของบริษัททั้งสิ้น ซึ่งถ้าปีนี้ยามาฮ่ามียอดขายมากกว่า 500,000 คัน ในปีหน้าเราก็หวังว่าจะมียอดขายที่ 550,000 คัน
- มองอะไรที่ยามาฮ่าน่าจะทำได้มากกว่านี้
ในส่วนของรูปแบบการทำตลาดของ ยามาฮ่าในปีนี้ เราก็จะยังคงเน้นไปที่มิวสิก มาร์เก็ตติ้ง, สปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เจาะเข้าไปยัง "ไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตติ้ง" อย่างต่อเนื่อง
หลังจากตลอดช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ยามาฮ่าค่อนข้างประสบความสำเร็จกับการใช้รูปแบบการทำตลาดข้างต้นมาแล้ว
ส่วนโรงงานนั้น ปัจจุบันนอกจากเราจะใช้สำหรับผลิตรถจักรยานยนต์เพื่อรองรับความต้องการของตลาดในประเทศแล้ว เราก็ยังคงมีการผลิตเป็นรถจักรยานยนต์ สำเร็จรูปและชิ้นส่วนออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง ทั้งฟิลิปปินส์, กัมพูชา, กรีซ, ลาว, มาเลเซีย และเวียดนาม และอนาคตบริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งออกไปยังประเทศใหม่อย่างแอฟริกาใต้, อเมริกากลาง และยุโรปด้วย
- ความคืบหน้าของธุรกิจใหม่ ๆ
เป็นที่ทราบกันดีว่า "ยามาฮ่า" เราไม่ได้มีการผลิตสินค้าเฉพาะรถจักรยานยนต์อย่างเดียวเท่านั้น แต่เรายังมีสินค้าอื่น ๆ ซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งเครื่องเรือ, เวฟ รันเนอร์, บิ๊กไบก์ ซึ่งเราคงจะต้องวางแผนทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ส่วนปีนี้เราก็กำลังเตรียมแผนงานที่จะแนะนำสินค้าใหม่ อย่างรถกอล์ฟและเครื่องยนต์อเนกประสงค์ออกสู่ตลาดเมืองไทยด้วย
เนื่องจากเราต้องการนำเสนอสินค้าในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้าชาวไทยได้เลือกใช้และพิจารณา รวมทั้งเราต้องการสื่อสารไปยังลูกค้าว่า "ยามาฮ่า" ไม่ได้มีสินค้าเฉพาะรถจักรยานยนต์เท่านั้น
- อีก 3 ปียามาฮ่าจะปักธงกับตลาดเมืองไทยอย่างไร
สำหรับรถจักรยานยนต์ของเราก็ยังจะคงเน้นเจาะกลุ่มไปที่วัยรุ่น โดยเฉพาะการสื่อสารความเป็นที่ 1 ด้านภาพลักษณ์ ที่สดใหม่อยู่ตลอดเวลา แม้ว่าวันนี้เราจะทำได้ค่อนข้างดีแล้ว แต่เราก็ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นภาพความสดใหม่ และแบรนด์ที่แตกต่าง ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์สินค้า ตรา สินค้า ซึ่งวันนี้ภาพของยามาฮ่าในเชิงของ วัยรุ่น คือวัยรุ่นที่มีสไตล์ มีรสนิยม น่า ตื่นเต้น เร้าใจ หรือถ้าพูดให้ตรงประเด็นคือ "ยามาฮ่า" จะต้องเป็นแบรนด์ในใจวัยรุ่นทั่วประเทศ
- การลงทุนเพิ่มเติมสำหรับปีนี้
วันนี้ด้วยพื้นที่และกำลังผลิตของโรงงาน ในปัจจุบัน เทียบกับยอดขายถือว่าวันนี้ ยามาฮ่ายังไม่มีแผนลงทุนใด ๆ โดยเฉพาะการลงทุนในส่วนของการขยายโรงงานวันนี้ยังไม่มีความจำเป็น แต่โดยปกติเราได้วางงบประมาณสำหรับการลงทุน ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต อุปกรณ์ และเทคโนโลยี รวมทั้งการพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ ซึ่งเราได้วางงบประมาณโดยเฉลี่ยได้ปีละ 1,000 ล้านบาทต่อปีอยู่แล้ว
ส่วนสินค้าใหม่ที่บริษัทจำนำเข้ามาทำตลาด อย่าง "รถกอล์ฟ" และ "เครื่องยนต์อเนกประสงค์" นั้น จะเป็นในรูปแบบของการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายมากกว่า
ในส่วนของกำลังการผลิตปัจจุบันมีกำลังการผลิตที่ 650,000 คันต่อปี ปีนี้เราตั้งเป้าขายในประเทศกว่า 500,000 คัน และส่งออกอีกประมาณ 20,000 คัน ไม่รวมซีบียู ซึ่งโรงงานเราถือว่ายังรองรับเพียงพอ
- มองภาพตลาดรถจักรยานยนต์ในปีนี้
วันนี้ต้องบอกว่า หากสถานการณ์ทุกอย่างยังอยู่ในภาวะปกติเหมือนตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา คาดว่ายอดขายโดยรวมในปีนี้น่าจะอยู่ระดับ 1.8-1.9 ล้านคัน โตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 23% ในช่วง 7 เดือน ที่ผ่านมา หรือจะประเมินให้ชัดเจน"ยามาฮ่า" คาดว่ายอดขายโดยรวมน่าจะอยู่ที่ระดับ 1.85 ล้านคัน หรือโตประมาณ 15% ถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา และยามาฮ่าจะมียอดขายอยู่ที่ 520,000 คัน มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 28%
โดยสัดส่วนของการจำหน่ายจะแบ่งเป็นรถจักรยานยนต์เกียร์อัตโนมัติ 53% เกียร์ธรรมดา 47% สำหรับตลาดรวม ขณะที่สัดส่วนการขายของยามาฮ่านั้นจะเป็นรถเกียร์อัตโนมัติสูงถึง 85% และเกียร์ธรรมดาเพียง 15%
- หมายความว่าพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน
แน่นอน ยามาฮ่าเราเชื่อว่าตลาดรถจักรยานยนต์เกียร์อัตโนมัติน่าจะมีการขยายไปได้มากกว่านี้ อย่างปีที่ผ่านมาสัดส่วนของรถเกียร์อัตโนมัติอยู่เพียงแค่ 49% แต่ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 53% และปีหน้าเชื่อว่าจะ เพิ่มเป็น 55% ภายใน 2-3 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 60% และยามาฮ่าเองน่าจะมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วย
- มองตลาดปีหน้า
สำหรับในปีหน้าเรายังเชื่อว่ายอดขายรถจักรยานยนต์โดยรวมก็น่าจะมีตัวเลขอยู่ในระดับ 1.8-1.9 ล้านคัน ใกล้เคียงกับปีนี้ เหตุผลที่เชื่ออย่างนั้น เพราะว่าวันนี้จำนวนประชากรไทยไม่ได้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน 2.เรามองว่าตลาดน่าจะอยู่ในระดับใกล้ถึงจุดอิ่มตัว ซึ่งตัวเลขในระดับ 1.8-1.9 ล้านคันนี้ ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างดี
ทั้งนี้ ยามาฮ่าเชื่อว่าหากเราทำสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันอย่างเต็มที่แล้ว บวกกับการสนับสนุนและส่งเสริมจากบริษัทแม่ ในแง่ของการพัฒนาสินค้า อย่างไรก็แล้วแต่เราเชื่อว่าสุดท้าย "ยามาฮ่า" จะต้องมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในระดับ 30-35% ได้ไม่ยากนัก
- แผนขยายเครือข่าย
ปัจจุบันยามาฮ่ามีตัวแทนจำหน่าย 550 แห่งทั่วประเทศ แบ่งออกเป็นยามาฮ่า สแควร์ 400 แห่ง และรูปแบบธรรมดาประมาณ 150 แห่ง ตามแผนงานที่วางไว้คือ การเพิ่มจำนวนสาขา 30-40 แห่งต่อปี คาดว่าภายใน 5 ปีจะมีตัวแทนจำหน่ายประมาณ 700 แห่งทั่วประเทศ ส่วนยามาฮ่า โอเค ซึ่งเป็นโชว์รูมที่จำหน่ายรถมือสองอย่างเป็นทางการของยามาฮ่า ปัจจุบันยังคงมี 1 สาขาย่านรัชดาฯ และยังไม่มีแผนงาน จะขยายเพิ่มในตอนนี้ เพราะเราตั้งใจให้ ยามาฮ่า โอเค เป็นโชว์รูม และสถานที่เป็น กลางในการวางมาตรฐานราคาจำหน่าย รถจักรยานยนต์มือสองของเราในแต่ละรุ่น
เพิ่มเติม http://www.prachachat.net/
"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสร่วมพูดคุยกับนายใหญ่แห่งค่ายรถจักรยานยนต์ เบอร์ 2 "ฟูมิอากิ นางาชิมา" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด แม้จะเข้ามานั่งแท่นบอสใหญ่ได้เพียงขวบปีกว่า แต่ด้วยความมั่นใจบวกกับทิศทาง การบริหาร และทีมงานคุณภาพ ทำให้เขามั่นใจในความเป็นผู้นำ "เทรนด์" แล้วยืนยันว่า ยามาฮ่าถือเป็นเบอร์หนึ่งไม่เป็นรองใคร
- ความพอใจตลาดเมืองไทย ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง
ก่อนที่ผมจะเข้ามารับหน้าที่ดูแลตลาดเมืองไทยนั้น ผมเคยดูแลตลาดทั้งใน อเมริกา, ยุโรป, อินโดนีเซีย หรือแม้แต่ในจีนมาแล้ว แต่ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ผมคิดว่า "ยามาฮ่า" เมืองไทยน่าจะเป็นบริษัทมีระบบการจัดการภายในองค์กรที่ดีที่สุด ทั้งด้านการผลิต การตลาด การเงิน การวางแผนธุรกิจ เรียกได้ว่า ระบบควบคุมภายในทุกอย่างน่าจะดีที่สุดเท่าที่เคยมีประสบการณ์มาจากประเทศอื่น ๆ
- นโยบายหลักที่จะใช้กับเมืองไทย
ในช่วงระยะนับตั้งแต่ปี 2552 ที่เข้ามารับตำแหน่ง ไปจนถึงปี 2554 หรือภายใน 3 ปีนี้ ยามาฮ่าจะต้องมี 1.ยอดขายภายในประเทศที่มากกว่า 500,000 คัน 2.จะต้องมีส่วนแบ่งตลาดเกินกว่า 28% และ 3.คือ ภายในปีที่ 3 หรือปี 2554 นั้น ยามาฮ่าจะต้องมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 30% ให้ได้
อย่างในปีนี้ เราเชื่อว่าจะมียอดขายมากกว่า 500,000 คันอย่างแน่นอนแล้ว ส่วนมาร์เก็ตแชร์ การผลิต ทุกอย่างก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในแผนงานของบริษัททั้งสิ้น ซึ่งถ้าปีนี้ยามาฮ่ามียอดขายมากกว่า 500,000 คัน ในปีหน้าเราก็หวังว่าจะมียอดขายที่ 550,000 คัน
- มองอะไรที่ยามาฮ่าน่าจะทำได้มากกว่านี้
ในส่วนของรูปแบบการทำตลาดของ ยามาฮ่าในปีนี้ เราก็จะยังคงเน้นไปที่มิวสิก มาร์เก็ตติ้ง, สปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เจาะเข้าไปยัง "ไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตติ้ง" อย่างต่อเนื่อง
หลังจากตลอดช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ยามาฮ่าค่อนข้างประสบความสำเร็จกับการใช้รูปแบบการทำตลาดข้างต้นมาแล้ว
ส่วนโรงงานนั้น ปัจจุบันนอกจากเราจะใช้สำหรับผลิตรถจักรยานยนต์เพื่อรองรับความต้องการของตลาดในประเทศแล้ว เราก็ยังคงมีการผลิตเป็นรถจักรยานยนต์ สำเร็จรูปและชิ้นส่วนออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง ทั้งฟิลิปปินส์, กัมพูชา, กรีซ, ลาว, มาเลเซีย และเวียดนาม และอนาคตบริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งออกไปยังประเทศใหม่อย่างแอฟริกาใต้, อเมริกากลาง และยุโรปด้วย
- ความคืบหน้าของธุรกิจใหม่ ๆ
เป็นที่ทราบกันดีว่า "ยามาฮ่า" เราไม่ได้มีการผลิตสินค้าเฉพาะรถจักรยานยนต์อย่างเดียวเท่านั้น แต่เรายังมีสินค้าอื่น ๆ ซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งเครื่องเรือ, เวฟ รันเนอร์, บิ๊กไบก์ ซึ่งเราคงจะต้องวางแผนทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ส่วนปีนี้เราก็กำลังเตรียมแผนงานที่จะแนะนำสินค้าใหม่ อย่างรถกอล์ฟและเครื่องยนต์อเนกประสงค์ออกสู่ตลาดเมืองไทยด้วย
เนื่องจากเราต้องการนำเสนอสินค้าในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้าชาวไทยได้เลือกใช้และพิจารณา รวมทั้งเราต้องการสื่อสารไปยังลูกค้าว่า "ยามาฮ่า" ไม่ได้มีสินค้าเฉพาะรถจักรยานยนต์เท่านั้น
- อีก 3 ปียามาฮ่าจะปักธงกับตลาดเมืองไทยอย่างไร
สำหรับรถจักรยานยนต์ของเราก็ยังจะคงเน้นเจาะกลุ่มไปที่วัยรุ่น โดยเฉพาะการสื่อสารความเป็นที่ 1 ด้านภาพลักษณ์ ที่สดใหม่อยู่ตลอดเวลา แม้ว่าวันนี้เราจะทำได้ค่อนข้างดีแล้ว แต่เราก็ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นภาพความสดใหม่ และแบรนด์ที่แตกต่าง ทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์สินค้า ตรา สินค้า ซึ่งวันนี้ภาพของยามาฮ่าในเชิงของ วัยรุ่น คือวัยรุ่นที่มีสไตล์ มีรสนิยม น่า ตื่นเต้น เร้าใจ หรือถ้าพูดให้ตรงประเด็นคือ "ยามาฮ่า" จะต้องเป็นแบรนด์ในใจวัยรุ่นทั่วประเทศ
- การลงทุนเพิ่มเติมสำหรับปีนี้
วันนี้ด้วยพื้นที่และกำลังผลิตของโรงงาน ในปัจจุบัน เทียบกับยอดขายถือว่าวันนี้ ยามาฮ่ายังไม่มีแผนลงทุนใด ๆ โดยเฉพาะการลงทุนในส่วนของการขยายโรงงานวันนี้ยังไม่มีความจำเป็น แต่โดยปกติเราได้วางงบประมาณสำหรับการลงทุน ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต อุปกรณ์ และเทคโนโลยี รวมทั้งการพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ ซึ่งเราได้วางงบประมาณโดยเฉลี่ยได้ปีละ 1,000 ล้านบาทต่อปีอยู่แล้ว
ส่วนสินค้าใหม่ที่บริษัทจำนำเข้ามาทำตลาด อย่าง "รถกอล์ฟ" และ "เครื่องยนต์อเนกประสงค์" นั้น จะเป็นในรูปแบบของการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายมากกว่า
ในส่วนของกำลังการผลิตปัจจุบันมีกำลังการผลิตที่ 650,000 คันต่อปี ปีนี้เราตั้งเป้าขายในประเทศกว่า 500,000 คัน และส่งออกอีกประมาณ 20,000 คัน ไม่รวมซีบียู ซึ่งโรงงานเราถือว่ายังรองรับเพียงพอ
- มองภาพตลาดรถจักรยานยนต์ในปีนี้
วันนี้ต้องบอกว่า หากสถานการณ์ทุกอย่างยังอยู่ในภาวะปกติเหมือนตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา คาดว่ายอดขายโดยรวมในปีนี้น่าจะอยู่ระดับ 1.8-1.9 ล้านคัน โตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 23% ในช่วง 7 เดือน ที่ผ่านมา หรือจะประเมินให้ชัดเจน"ยามาฮ่า" คาดว่ายอดขายโดยรวมน่าจะอยู่ที่ระดับ 1.85 ล้านคัน หรือโตประมาณ 15% ถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา และยามาฮ่าจะมียอดขายอยู่ที่ 520,000 คัน มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 28%
โดยสัดส่วนของการจำหน่ายจะแบ่งเป็นรถจักรยานยนต์เกียร์อัตโนมัติ 53% เกียร์ธรรมดา 47% สำหรับตลาดรวม ขณะที่สัดส่วนการขายของยามาฮ่านั้นจะเป็นรถเกียร์อัตโนมัติสูงถึง 85% และเกียร์ธรรมดาเพียง 15%
- หมายความว่าพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน
แน่นอน ยามาฮ่าเราเชื่อว่าตลาดรถจักรยานยนต์เกียร์อัตโนมัติน่าจะมีการขยายไปได้มากกว่านี้ อย่างปีที่ผ่านมาสัดส่วนของรถเกียร์อัตโนมัติอยู่เพียงแค่ 49% แต่ปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 53% และปีหน้าเชื่อว่าจะ เพิ่มเป็น 55% ภายใน 2-3 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 60% และยามาฮ่าเองน่าจะมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันด้วย
- มองตลาดปีหน้า
สำหรับในปีหน้าเรายังเชื่อว่ายอดขายรถจักรยานยนต์โดยรวมก็น่าจะมีตัวเลขอยู่ในระดับ 1.8-1.9 ล้านคัน ใกล้เคียงกับปีนี้ เหตุผลที่เชื่ออย่างนั้น เพราะว่าวันนี้จำนวนประชากรไทยไม่ได้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน 2.เรามองว่าตลาดน่าจะอยู่ในระดับใกล้ถึงจุดอิ่มตัว ซึ่งตัวเลขในระดับ 1.8-1.9 ล้านคันนี้ ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างดี
ทั้งนี้ ยามาฮ่าเชื่อว่าหากเราทำสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันอย่างเต็มที่แล้ว บวกกับการสนับสนุนและส่งเสริมจากบริษัทแม่ ในแง่ของการพัฒนาสินค้า อย่างไรก็แล้วแต่เราเชื่อว่าสุดท้าย "ยามาฮ่า" จะต้องมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในระดับ 30-35% ได้ไม่ยากนัก
- แผนขยายเครือข่าย
ปัจจุบันยามาฮ่ามีตัวแทนจำหน่าย 550 แห่งทั่วประเทศ แบ่งออกเป็นยามาฮ่า สแควร์ 400 แห่ง และรูปแบบธรรมดาประมาณ 150 แห่ง ตามแผนงานที่วางไว้คือ การเพิ่มจำนวนสาขา 30-40 แห่งต่อปี คาดว่าภายใน 5 ปีจะมีตัวแทนจำหน่ายประมาณ 700 แห่งทั่วประเทศ ส่วนยามาฮ่า โอเค ซึ่งเป็นโชว์รูมที่จำหน่ายรถมือสองอย่างเป็นทางการของยามาฮ่า ปัจจุบันยังคงมี 1 สาขาย่านรัชดาฯ และยังไม่มีแผนงาน จะขยายเพิ่มในตอนนี้ เพราะเราตั้งใจให้ ยามาฮ่า โอเค เป็นโชว์รูม และสถานที่เป็น กลางในการวางมาตรฐานราคาจำหน่าย รถจักรยานยนต์มือสองของเราในแต่ละรุ่น
เพิ่มเติม http://www.prachachat.net/